Acanthus ebracteatus Vahl
Acanthus ilicifolius var. ebracteatus (Vahl) Benoist
Dilivaria ebracteata (Vahl) Pers.
ลำต้น เป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูง 0.5-1 ม. ลำต้นมีลักษณะกลมเรียบ แข็ง สีเขียวแกมเทา มักมีหนามตามข้อ ๆ ละ 4 หนาม
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม คล้ายรูปไข่ รูปวงรี หรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-20 ซม. ขอบใบเว้าหยักซี่ฟันห่าง ๆ ปลายซี่เป็นหนามแหลม ผิวใบเรียบมัน เนื้อใบเหนียวแข็ง
ดอก ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ชนิดดอกขาว กลีบดอกสีขาว มีจุดประสีแดง หรือม่วงแดง ส่วนชนิดดอกม่วงมีกลีบดอกสีม่วงอมฟ้า มีแถบสีเหลืองอ่อนกลางกลีบ
ผล ผลเป็นฝักมีลักษณะคล้ายรูปไข่ หรือรูปทรงกระบอก
พบตามป่าชายเลนบริเวณน้ำกร่อย ป่าโกงกาง
เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย
เขตร้อนของทวีปเอเชีย เขตร้อนของออสเตรเลีย และแถบแปซิฟิก
ปักชำกิ่ง
ใบและต้น แก้ตกขาว โดยตำเป็นผงละลายน้ำผึ้ง หรือน้ำมันงา ปั้นเป็นลูกกลอนรับประทาน
ใบ ต้มกับน้ำดื่ม แก้นิ่วในไต ทั้งต้น 10 ส่วน เข้ากับพริกไทย 5 ส่วน ทำเป็นยาลูกกลอน แก้โรคกระเพาะ ขับเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ
ทั้งต้น ใช้รักษาแผลฝีหนอง รักษาโรคผิวหนังจำพวกพุพอง น้ำเหลืองเสีย ใช้ 3-4 ต้น หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำอาบหรือชะล้างบาดแผลเรื้อรัง และผื่นคันตามร่างกาย ต้มรับประทานแก้พิษฝีดาษ พิษฝีภายใน ตัดรากฝีทั้งปวง แก้โรคผิวหนัง
ราก ใช้รากสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคงูสวัด
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “เหงือกปลาหมอ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=130 (25 ตุลาคม 2559).
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “เหงือกปลาหมอ”. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp (25 ตุลาคม 2559).
National Parks Board. 2013. “Acanthus ebracteatus Vahl”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/Special-Pages/plant-detail.aspx?id=1594 (25 ตุลาคม 2559).
The Plant List. 2013. “Acanthus ebracteatus Vahl”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2615237 (25 ตุลาคม 2559).