ชื่อไทย
หางนกยูงฝรั่ง
ชื่อท้องถิ่น
นกยูงฝรั่ง, อินทรี (ภาคกลาง)/ ส้มพอหลวง (ภาคเหนือ)/ หงอนยูง (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ
<p>Flamboyant tree/ Flame tree/&nbsp;Flame of the forest/ Peacock flower/&nbsp;Royal Poinciana</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Delonix regia (Bojer ex Hook.) Raf.

สกุล
Delonix
สปีชีส์
regia
ชื่อพ้อง

Poinciana regia Bojer ex Hook.

Caesalpinia regia (Bojer ex Hook.) D.Dietr.

Delonix regia var. flavida Stehlé

Delonix regia var. genuina Stehle

ชื่อวงศ์
FABACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นผลัดใบ สูง 10-15 ม. เปลือกเรียบ สีน้ำตาลอมเทาหรือสีเทา เรือนยอดแผ่กว้าง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียน ใบย่อยชั้นที่หนึ่งเรียงตรงข้าม มี 9-24 คู่ ใบย่อยชั้นที่สองเรียงตรงข้าม มี 14-30 คู่ ใบย่อยขนาดเล็ก รูปขอบขนาน กว้าง 3-4 มม. ปลายมน  โคนเบี้ยว ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ 

ดอก เป็นช่อดอกแบบช่อกระจะหรือช่อเชิงหลั่น ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-15 ซม. ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ด้านนอกสีเขียว ด้านในสีคล้ายกลีบดอก รูปขอบขนาน หนา กลีบดอก 5 กลีบ สีแดง สีแดงอมส้ม หรือสีส้มแซมสีเหลือง ขนาดไม่เท่ากัน รูปค่อนข้างกลม โคนคอดคล้ายก้าน เกสรเพศผู้ 10 เกสร รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ 

ผล แบบผลแห้งแตกสองแนว เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 30-60 ซม. ตรงหรือโค้ง ผนังผลแข็ง สีเขียว เมื่อแห้งสีน้ำตาลอมดำ

เมล็ด มี 20-40 เมล็ด สีน้ำตาล ขอบเมล็ดสีอ่อนกว่า แบน รูปขอบขนานหรือรูปรี เรียงตามขวาง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

หางนกยูงฝรั่งเป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีการนำมาปลูกประดับทั่วไปในเขตร้อน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการแดดปานกลางถึงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

มาดากัสการ์

การกระจายพันธุ์

มีการแพร่กระจายทั่วไปในเขตร้อนทั่วโลก

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
เมษายน – มิถุนายน
ระยะเวลาการติดผล
กรกฎาคม-ตุลาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป

เมล็ด เมล็ดอ่อนสามารถรับประทานสดได้
ราก นำมาต้มหรือทอดรับประทานกับอาหาร เป็นยาขับโลหิตในสตรี แก้อาการบวมต่าง ๆ
ลำต้น นำมาฝนทาแก้พิษ ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อยได้

หมายเหตุ

รากสารมารถสร้างความเสียหายให้แก่ฐานโครงสร้างอาคารได้หากปลูกชิดอาคารมากเกินไป

แหล่งอ้างอิง

ฉัตรชัย เงินแสงสรวย, รัมภ์รดา มีบุญญา, ปวีณา เวสภักตร์, ณัฐนนท์ มีพรหม, สิริพร ชดช้อย, วีรีศา บุญทะศักดิ์ และจามิกร วงศ์จิ้ว. 2562. พรรณไม้ในวังสระปทุม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วนานันทอุทยาน. 2557. “หางนกยูงฝรั่ง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://office.csc.ku.ac.th/woodland/index.php/2013-11-18-06-36-8/130-2014-02-17-07-17-02 (11 พฤษภาคม 2560).

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2542. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 2. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 151 น.

องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2559. “หางนกยูงฝรั่ง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/293 (11 พฤษภาคม 2560).

POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 12 september 2022.

TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), September 12, 2022.

 

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้