ชื่อไทย
กูดต้น
ชื่อท้องถิ่น
มหาสิงดำ (ตาก)
ชื่อสามัญ
Tree Fern
ชื่อวิทยาศาสตร์

Cyathea borneensis Copel.

สกุล
Cyathea
ชื่อพ้อง

-

ชื่อวงศ์
CYATHEACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น กูดต้นชนิดนี้ มีเหง้าเป็นแท่งสูงได้มากกว่า 2 ม. มีรากสีดำปกคลุมทั่ว ที่ข้างลำต้นมักเห็นรอยที่เกิดจากก้านใบแก่ที่หลุดร่วงไป

ใบ ลักษณะใบ เป็นใบประกอบขนนก 2 ชั้น ก้านใบยาว มีขนหรือเกล็ดสีน้ำตาล หรือสีม่วงเข้ม เป็นเงามัน ขอบสีน้ำตาลแดง ใบย่อยมีก้านสั้นหรืออาจไม่มีก้าน อยู่ติดกับก้านใบย่อย ขอบใบย่อยหยักลึก เกือบถึงเส้นกลางใบย่อย ปลายใบมน

สปอร์ อับสปอร์ รูปกลม อยู่เรียงเป็นแถวตามแกนใบย่อย มีเยื่ออินดูเซียมบางและแบน ปิดอับสปอร์

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร,ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าดิบ ทั้งป่าดิบชื้นและป่าดิบเขา ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 400-1,800 ม. หรือในป่าบนภูเขาสูง 1,000-1,600 ม. MSL. ทั่วทุกภาคของไทยยกเว้นภาคกลาง

 

ถิ่นกำเนิด

พืชสกุล Cyathea มีถิ่นกำเนิดใน แอฟริกา แปซิฟิก อเมริกาใต้ เม็กซิโก ออสตราเลเซีย(คือชื่อที่ใช้เรียกภูมิภาคโอเชียเนีย กล่าวคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะใกล้เคียงในมหาสมุทรแปซิฟิก) เอเชียเขตร้อนและเขตอบอุ่น

การกระจายพันธุ์

กระจายพันธุ์ อยู่ในไทย พม่า มาเลเซียแบะบอร์เนียว ในไทย มีรายงานพบที่ บ่อไร่ จ. บุรีรัมย์, เขาใหญ่ จ. นครนายก, เขาทอง ท่าสาร จ. ชุมพร, จ. สุราษฎร์ธานี, เขาหลวง จ. นครศรีธรรมราช, จ. สตูล

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการใช้สปอร์

ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสถานที่

แหล่งอ้างอิง

กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม. 2555. “Cyathea borneensis”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:  http://siamensis.org/node/3143/trackindex.php (13 กรกฎาคม 2560).

FernSiam. 2001. “Cyatheaceae”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.oocities.org/fernparadise/Cyatheaceae/Cyata.html (13 กรกฎาคม 2560).

Kew Science, The Royal Botanic Gardens. “Cyathea Sm.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:327998-2 (13 กรกฎาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Cyathea borneensis Copel.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50179005 (13 กรกฎาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้