Acacia mangium Willd.
Acacia acicularis Willd.
Acacia densiflora (Small) Cory
Acacia holosericea A.Cunn.
Acacia holosericea var. glabrata C.T.White
Mangium montanum Rumph.
Racosperma mangium (Willd.) Pedley
ลำต้น ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. เปลือกแตกเป็นสะเก็ด สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทา กระพี้บาง สีค่อนข้างอ่อน แก่นมีสีน้ำตาล เป็นไม้โตเร็ว
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น พบเฉพาะตอนเป็นกล้าไม้ จากนั้นจะหลุดร่วงเหลือเพียงก้านใบที่เปลี่ยนสภาพคล้ายแผ่นใบ (phyllode) เรียงเวียน รูปรี กว้าง 3.5-10 ซม. ยาวได้ถึง 25 ซม. มักไม่สมมาตร ปลายแหลมหรือมน โคนเบี้ยว ขอบเรียบ มีเส้นใบ 4-5 เส้น
ดอก เป็นช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกตามซอกใบ ยาวประมาณ 10 ซม. ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงยาว 0.6-0.8 มม. กลีบเลี้ยงยาว 1.2-1.5 มม.
ผล: เป็นฝัก แบน กว้าง 3-5 มม. ยาว 7-10 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ตรง ผลแก่บิดม้วนเป็นวงกลม 1-3 วงซ้อนกัน เมื่อแห้งแตกออกทั้งสองด้าน ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาล เมล็ดสีดำ รูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-3 มม. ยาว 3-5 มม.
ในถิ่นกำเนิดมีพบตามที่ลุ่ม ตามริมแม่น้ำ และตามป่ารุ่น ที่สูงใกล้ระดับทะเลปานกลางได้ถึง 800 ม.
หมู่เกาะโมลุกกะ ปาปัวนิวกินี และรัฐควีนแลนส์
กระถินเทพามีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะโมลุกกะ ปาปัวนิวกินี และรัฐควีนแลนส์ พบว่ามีการนำไปปลูกในเขตร้อนของเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
เป็นไม้โตเร็วที่เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้เบิกนำในพื้นที่ถูกทำลาย
เนื้อไม้สามารถนำมาทำไม้แปรรูป เฟอร์นิเจอร์ ไม้โครงสร้างต่างๆ หรือใช้ทำฟืน
เยื่อไม้กระถินเทพาที่ผ่านการฟอกแล้ว นำไปผลิตเป็นกระดาษชนิดสี เช่น กระดาษเขียนหนังสือ
นิยมใช้ปลูกให้ร่มเงา เป็นแนวฉากกำบัง ให้ความสวยงามตามที่สาธารณะต่างๆ
ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2558. "กระถินเทพา". แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/EPAC/plant_economic/02krathintapa.htm (7 กุมภาพันธ์ 2560).
ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้. 2553. กระถินเทพา. กรมป่าไม้. กรุงเทพฯ. 16 น.
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพรรณพืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติม กรุงเทพฯ.
POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 27 May 2024.
TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), May 27, 2024.
World Agroforestry Centre. 2024. Acacia mangium. Published on the Internet; Available Source: https://apps.worldagroforestry.org/treedb/AFTPDFS/Acacia_mangium.PDF. Retrieved 27 May 2024.