ชื่อไทย
ติ้วขน
ชื่อท้องถิ่น
กวยโชง (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี)/ กุยฉ่องเซ้า (กะเหรี่ยงลำปาง)/ ตาว (สตูล)/ ติ้วแดง ติ้วยาง ติ้วเลือด (เหนือ)/ ติ้วเหลือง (กลาง)/ แต้วหิน (ลำปาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์

Cratoxylum formosum Benth. & Hook. f. ex Dyer

สกุล
Cratoxylum
สปีชีส์
formosum
ชื่อพ้อง

Cratoxylum dasyphyllum Hand.-Mazz.

Cratoxylum pentadelphum Turcz.

Cratoxylum pruniflorum Kurz

Tridesmis pruniflora Kurz

 

 

ชื่อวงศ์
HYPERICACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-15 ม. เปลือกนอกสีน้ำตาลปนดำ แตกเป็นสะเก็ดตามยาว เปลือกในสีน้ำตาลเหลืองและมียางเหนียว ๆ สีเหลืองปนแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง กิ่งเล็กตามลำต้น มักกลายสภาพเป็นหนามแข็ง ๆ

ใบ: เป็นใบเดี่ยว ติดตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ รูปรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานกว้าง 2.0-4.5 ซม. ยาว 3-13 ซม. โคนใบสอบเรียว เนื้อใบบาง หลังใบมีขนสากๆส่วนท้องใบมีขนนุ่มหนาแน่น ใบอ่อนออกสีชมพูเรื่อ ใบแก่ก่อนผลัดใบมีสีแดง ขอบใบเรียบ

ดอก: ดอกมีสีชมพูอ่อนถึงแดง กลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง ทั้งกลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก มีอย่างละ 5 กลีบ กลีบรองกลีบดอกมีขนประปรายส่วนกลีบดอกเกลี้ยงและยาวประมาณ 2 เท่าของกลีบรองกลีบดอก เกสรผู้มีมาก และแบ่งเป็น 3 กลุ่ม รังไข่รูปรีๆเกลี้ยงๆ

ผล: ผลเป็นชนิดผลแห้ง รูปรีๆ ยาวประมาณ 2 ซม. แข็งมีคราบสีนวลๆตามผิว ผลแก่จัดจะแตกอ้าออกเป็น 3 แฉก สีน้ำตาล เมล็ด รูปขอบขนานเล็กๆ มีปีกโค้งๆ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ตามป่า พบที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 0-1000 ม.

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อนและเขตอบอุ่น

การกระจายพันธุ์

กัมพูชา พม่า ไทย เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-เมษายน
ระยะเวลาการติดผล
หลังเมษายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชใช้เนื้อไม้

เปลือกต้น เคี้ยวกินกับพลูหรือหมาก ใช้ย้อมผ้า ให้สีน้ำตาลเข้ม

ยอดอ่อน รับประทานกับลาบหรือน้ำพริก

น้ำยาง ใช้เป็นยาสมานแผลเช่น แผลมีดบาด ช่วยห้ามเลือดได้

ใบ ใช้ปิดแผลสด (ใช้แทนพลาสเตอร์ปิดแผล)

เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน ใช้ทำฟืน

ราก และ ใบ น้ำต้มกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ต้น ยางจากเปลือกต้นทาแก้คัน น้ำต้มเปลือกต้น กินแก้ธาตุพิการ เปลือก และ ใบ ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้โรคผิวหนังบางชนิด

แหล่งอ้างอิง

ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์. “ติ้วขน”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=localname&localname=%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%99&keyback=%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%99 (2 กุมภาพันธ์ 2560).

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ติ้วขน”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:  http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=810 (2 กุมภาพันธ์ 2560).

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “ติ้วขาว, ติ้วขน”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=353&name=ติ้วขาว%2C%20ติ้วขน (2 กุมภาพันธ์ 2560).

Flora of China. “Cratoxylum formosum”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=242315266 (2 กุมภาพันธ์ 2560).

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Cratoxylum formosum”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:433057-1 (2 กุมภาพันธ์ 2560).

The Plant List. 2013. “Cratoxylum formosum (Jacq.) Benth. & Hook.f. ex Dyer”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2742417 (2 กุมภาพันธ์ 2560).

 

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้