ชื่อไทย
กระถินเทศ
ชื่อท้องถิ่น
กระถิน(กลาง) / กระถินหอม คำใต้ ดอกคำใต้, มอนคำ(เหนือ) / ถิน(ใต้) / บุหงาเซียม(มลายู ใต้) / บุหงาละสะมะนา(มลายู ปัตตานี)
ชื่อสามัญ
Sponge tree / Cassie flower
ชื่อวิทยาศาสตร์

Acacia farnesiana (L.) Willd.

สกุล
Acacia
สปีชีส์
farnesiana
ชื่อพ้อง

Acacia acicularis Willd.

Acacia densiflora (Small) Cory

Acacia edulis Humb. & Bonpl. ex Willd.

Acacia farnesiana var. farnesiana

ชื่อวงศ์
FABACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 2-4 ม. เปลือกมีสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านหลายสาขา และคดไปมา

ใบ ใบแบบขนนกกำมะหยี่ มี 4-8 คู่  ยาว 2-7 ซม. หูใบคล้ายหนาม มีหนามสั้น ๆ ขนาด 1-2 ซม. อยู่บนกิ่ง

ดอก ดอกออกเป็นช่อกระจุกแน่น มีลักษณะเป็นพุ่มกลม ดอกสีเหลือง และมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ คล้ายรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก

ผล ออกผลเป็นฝัก ฝักมีลักษณะกลมเป็นรูปทรงกระบอก ยาวได้ประมาณ 2-9 ซม. ฝักตรงหรือโค้งงอเล็กน้อย ผิวฝักหนาเกลี้ยง เมื่อฝักแก่จะไม่แตก ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 15 เมล็ด เรียงเป็น 2 แถว

เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปรี แบนเล็กน้อย

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

จะปลูกขึ้นได้ในดินร่วนซุย และดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี

ถิ่นกำเนิด

เม็กซิโก อเมริกากลาง

การกระจายพันธุ์

กระจายพันธุ์ในแถบภาคเหนือของออสเตรเลียและเอเชียตอนใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สามารถทำได้แต่ต้องใช้เวลาในการเพาะนาน 2 - 3 เดือนจึงจะงอก

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
กรกฎาคม-ธันวาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ราก ต้มน้ำอมแก้ปวดฟัน กินเป็นยาอายุวัฒนะ ทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย

ยาง ของไม้นี้เรียกว่า กัมอะเคเซีย ผสมแก้ไอ บรรเทาอาการระคายคอ และสามารถพัฒนาเป็นสารยึดเกาะในอุตสาหกรรมการผลิตยาเม็ด

เปลือกต้น ใช้สมานแผล ห้ามเลือด แก้ท้องเสีย แก้ไอ ริดสีดวงทวาร

ดอก สกัดกลิ่นหอมเป็นน้ำหอม ใช้เป็นยาแก้เกร็ง ฆ่าแมลง แต่งกลิ่นอาหาร

ใบ ใช้ใบสด เป็นยาฟอกแผล

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “กระถินเทศ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2378 (11 พฤศจิกายน 2559).

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. “กระถินเทศ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/index.php/linkoldfragrant-2/57-acacia (11 พฤศจิกายน 2559).

Flora of China. “Acacia farnesiana”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200011852 (11 พฤศจิกายน 2559).

The Plant List. 2013. “Acacia farnesiana (L.) Willd.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-423 (11 พฤศจิกายน 2559).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้