ชื่อไทย
คอร์เดียเหลือง
ชื่อสามัญ
<p>Cordia</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Cordia lutea Lam.

สกุล
Cordia
สปีชีส์
lutea
ชื่อพ้อง

Calyptracordia rotundifolia (Ruiz & Pav.) Friesen

Coilanthera rotundifolia Raf.

Cordia marchionica Drake

Cordia rotundifolia Ruiz & Pav.

Ectemis lutea (Lam.) Raf.

 

ชื่อวงศ์
BORAGINACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้น สูง  3-8 ม. เปลือกเป็นร่อง สีน้ำตาล กิ่งก้านมีขนสั้นสาก

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรีหรือไข่ กว้าง 4.5-10.0 ซม. ยาว 8-16 ซม. ปลายเป็นติ่งหนาม โมนหรือรูปลิ่ม ขอบหยักมน มีขนสาก เส้นแขนงใบยื่นยาวเกินขอบใบเล็กน้อย แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีอ่อนกว่า แผ่นใบและก้านใบมีขนสาก

ดอก ป็นช่อดอกแบบช่อกระจุกด้านเดียวคล้ายช่อเชิงหลั่น  อกกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว ยาว 12-15 มม. โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 3-5 แฉก ด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนสาก เป็นสัน กลีบดอกรูปลำโพง สีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6-7 แฉก แฉกกลีบดอกยับย่น ปลายแฉกเรียวแหลม ม้วนออกทางด้านนอกเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 6-7 เกสร ติดในหลอดกลีบดอก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ  ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก 2 ครั้ง

ผล แบบผลผนังชั้นในแข็ง ทรงรูปไข่ ยาวประมาร 2.4 ซม. สีอ่อนสีเขียว สุกสีขาว 

เมล็ด มักมีเพียง 1 เมล็ด 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีแสงแดดเพียงพอ

ถิ่นกำเนิด

อเมริกาใต้ (โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เกาะกาลาปากอส เปรู)

 

 

การกระจายพันธุ์

คอร์เดียดอกำเหลืองมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ และแพร่กระจายไปยังเกาะฮาวาย หมู่เกาะมาร์เคซัส ปัจจุบันมีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นพืชประดับ

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2553. “คอร์เดียดอกเหลือง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/128838 (14 กรกฎาคม 2560).

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “คอร์เดีย”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/plant-library/cordia/ (14 กรกฎาคม 2560).

POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 1 August 2022.

TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), August 1, 2022.

Weigend, M., F. Selvi, D. C. thomas and H. H. Hilger. 2016. Boranginaceae, pp. 41-102.  In J. W. Kadereit and V. Bittrich, eds.  The Families and Genera of Vascular Plants Vol. XIV.  Springer-Verlag Berlin Heidelberg, Germany.

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้