ชื่อไทย
กระดังงาสงขลา
ชื่อท้องถิ่น
กระดังงางอ (ยะลา) / กระดังงาเบา(ใต้) / กระดังงาสาขา(กทม.)
ชื่อสามัญ
Fragrant Cananga
ชื่อวิทยาศาสตร์

Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson var. fruticosa (Craib) J. Sindair 

สกุล
Cananga
สปีชีส์
odorata
Variety

fruticosa

ชื่อพ้อง

Cananga blainii var. fruticosum (W. G. Craib) Corner

Cananga fruticosa Craib

Canangium fruticosum Craib

Canangium odoratum var. fruticosum (Craib) Coner

Canangium odoratum var. fruticosum (W. G. Craib) Corner

ชื่อวงศ์
ANNONACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น กระดังงาสงขลาเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-3 ม. ทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งมาก เปลือกสีเทาอมน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน เนื้อไม้เปราะ

ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี กว้าง 6–8 ซม. ยาว 10–14 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบบาง ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย สีเขียวอ่อน เส้นแขนงใบมี 8-9 คู่ เป็นร่องเห็นได้ชัดเจนที่ด้านบนของใบ ก้านใบยาว 1.0–2.5 ซม.

ดอก ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุก ออกตามกิ่งตรงข้ามใบ กลีบเลี้ยงรูปไข่ ปลายแหลม กว้าง 4-7 มม. ยาว 1.0-1.3 ซม. กลีบดอกสีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม กลีบดอกเรียวยาว บิดเป็นเกลียว ปลายกลีบเรียวโค้งงอ เรียงหลายชั้น ชั้นละ 3 กลีบ เกสรเพศผู้เพศเมียจำนวนมาก

ผล โดยปกติไม่ค่อยติดผล ถ้าติดผลจะเป็นกลุ่ม มีผลย่อย 8-10 ผล ก้านผล ยาว 1.5–2.0 ซม. แต่ละผลกลมรี กว้าง 1.2 ซม. ยาว 1.5–1.8 ซม. เปลือกเรียบ สีเขียว เมื่อแก่สีเขียวอมเหลือง พอสุกเป็นสีม่วงดำ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ป่าดิบชื้น

ถิ่นกำเนิด

บ้านจะโหน่ง อ.จะนะ จ.สงขลา

การกระจายพันธุ์

ประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

การตอนกิ่ง สามารถทำได้แต่ไม่ค่อยนิยม เนื่องจากิ่งเปราะ หักง่าย  การเพาะเมล็ดทำได้ง่ายกว่า การขยายพันธุ์ไม้หอมชนิดนี้ควรใช้ฮอร์โมนช่วยเนื่องจากการออกรากไม่ง่ายนัก ฤดูกาลที่เหมาะสมกับการขยายพันธุ์คือช่วงฤดูฝน ประมาณต้นเดือนมิถุนายน

การเพาะเมล็ด เป็นที่นิยมกันมาก เพราะสะดวกในการปฏิบัติงานและสามารถทำได้ครั้งละมาก ๆ แต่ก็มีข้อเสียอยู่นิดหนึ่งก็คือ พันธุ์ไม้หอมชนิดนี้ไม่ค่อยติดผลเท่าไรนัก

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ติดผลและมีผลแก่เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

พบปลูกเฉพาะไม้ประดับ

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

จารีย์ บันสิทธิ์. 2538.  กระดังงาสงขลา. อ้างโดย ราชบัณทิตยสถาน. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก . เพื่อนพิมพ์ จำกัด. 495 น.

ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2544. พรรณไม้วงศ์กระดังงา. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. “กระดังงาสงขลา”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/index.php/linkoldfragrant/67-canangium (11 ตุลาคม 2559).

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2540. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร.

The Plant List. 2013. “Cananga odorata var. fruticosa (Craib) J.Sinclair”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2695746 (14 กันยายน 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้