ชื่อไทย
รองเท้านารีคางกบ
ชื่อท้องถิ่น
แมงภู่ (ลำปาง); รองเท้านาง (ทั่วไป); เอื้องคางกบ, เอื้องคางคก (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ
<p>Callus Paphiopedilum</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Paphiopedilum callosum var. callosum

สกุล
Paphiopedilum
สปีชีส์
callosum
Variety

callosum

ชื่อพ้อง

Cypripedium crossii C. Morren

Cypripedium schmidtianum Kraenzl.

Paphiopedilum callosum var. angustipetalum Guillaumin

Paphiopedilum callosum var. schmidtianum (Kraenzl.) Pfitze

Paphiopedilum callosum var. viniferum (Koop. & N. Haseg.) Cavestro

Paphiopedilum crossii (C. Morren) Braem & Senghas

Paphiopedilum crossii f. viniferum (Koop. & N. Haseg.) Braem & Chiron

Paphiopedilum viniferum Koop. & N. Haseg.

 

 

ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
กลุ่มพรรณไม้
กล้วยไม้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นกล้วยไม้ขึ้นบนดิน เจริญเติบโตทางด้านข้าง ไม่มีลำลูกกล้วย 

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ต้นละ 3-5 ใบ รูปแถบหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.2-4.8 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายแหลมหรือเว้าบุ๋ม โคนมีขนครุย ขอบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนสีเขียวเข้มสลับเขียวอมเทา ด้านล่างสีอ่อนกว่า 

ดอก ออกเดี่ยวบนก้านช่อดอกโดด บางครั้งมีได้ถึง 2 ดอก ก้านช่อดอกยาว 12-25 ซม. สีม่วง มีขนสั้นนุ่ม ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-11 ซม. แต่ละดอกมีใบประดับรองรับ 1 ใบ รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 1.5-2.8 ซม. พับเข้าหากัน สีเขียว บางครั้งมีแต้มสีม่วง มีขนครุย กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กว้างหรือค่อนข้างกลม กว้าง 4.2-6 ซม. ยาว 4-5.5 ซม. สีขาว มีริ้วสีม่วงและเส้นกลีบสีเขียวเห็นชัด ปลายกลีบโค้งไปทางด้านหลัง กลีบคู่ล่างเชื่อมติดกันเป็นรูปใบหอกหรือรูปรี กว้าง 1.6-2.5 ซม. ยาว 2.7-3.2 ซม. สีเขียวอ่อน กลีบดอกคู่ข้างรูปแถบหรือรูปลิ้น กว้าง 1.2-1.8 ซม. ยาว 4.6-6.8 ซม. สีเขียวปลายกลีบสีม่วงอมชมพู เป็นมัน ปลายโค้งขึ้น ขอบกลีบมีขนครุย ขอบด้านบนมีหูดสีม่วงเข้ม กลีบปากเป็นถุงลึกคล้ายหัวรองเท้า กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 2.5-4.4 ซม. สีม่วงแกมสีเขียว เป็นมัน เกสรเพศผู้เป็นหมันรูปจันทร์เสี้ยว กว้างประมาณ 7 มม. ยาวประมาณ 1.1 ซม. สีเขียวอ่อน ก้านดอกรวมรังไข่ยาว 3-6.5 ซม. มีขนสั้นนุ่ม 

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบขึ้นตามพื้นดินที่มีแสงรำไรในป่าดิบ ที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 300-1,300 ม.

ถิ่นกำเนิด

เมียนมาและภูมิภาคอินโดจีน

การกระจายพันธุ์

ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ในต่างประเทศพบที่ เมียนมา เวียดนาม ลาว และกัมพูชา

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แยกกอ หรือเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
พฤษภาคม-สิงหาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับ

แหล่งอ้างอิง

นันทิยา วรรธนะภูติ. 2555. ดอกเอื้อง. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

ภวพล ศุภนันทนานนท์. 2566. กล้วยไม้. บ้านและสวน อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพรรณพืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. สำนักงานพระพุทธศาสนา, กรุงเทพฯ.

เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. 2552. กล้วยไม้ไทย. เศรษฐศิลป์, กรุงเทพฯ.

อบฉันท์ ไทยทอง. 2552. กล้วยไม้เมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 16. บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 

Forest Haerbarium. 2024. e-Flora of Thailand 'Paphiopedilum Pfitzer'. Published on the Internet, https://botany.dnp.go.th/ eflora/floragenus.html?factsheet=Paphiopedilum. Retrieved 8 Aug. 2024.

POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 8 Aug. 2024.

TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), Aug. 8, 2024.

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้