ชื่อไทย
ตีนตุ๊กแก
ชื่อท้องถิ่น
มะเดื่อเถา (กทม.)/ ลิ้นเสือ (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ
Creeping fig
ชื่อวิทยาศาสตร์

Ficus pumila L.

ชื่อพ้อง

Ficus pumila var. pumila

Urostigma scandens (Lam.) Liebm.

 

ชื่อวงศ์
MORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้เลื้อยอิงอาศัย ทอดเลื้อยตามต้นไม้อื่น บนหิน กำแพงบ้าน หรือตามวัสดุที่ยึดเกาะ มีรากออกจากทุกข้อของลำต้น

ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบรูปไข่ ปลายใบแหลม ใบกว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 2-2.5 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อแบบดอกไทร ดูผิวเผินคล้ายเป็นผล

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ปลูกกับกำแพงที่มีแสงแดดจัด จะทำให้ลำต้นเกาะแนบกับผนัง หากร่มเกินไปกิ่งก้านจะยาวกลายเป็นทรงพุ่ม

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดที่ตอนเหนือของเวียดนาม และเอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

บังคลาเทศ อินเดีย คิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน เวเนซุเอลา 

การปลูกและการขยายพันธุ์

การปักชำ  การทาบกิ่ง

ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกประดับกำแพง

แหล่งอ้างอิง

ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์. “ตีนตุ๊กแก”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=localname&localname=ตีนตุ๊กแก&keyback=ตีนตุ๊กแก (22 เมษายน 2560).

เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. 2552. ร้อยพรรณไม้เลื้อยแสนสวย. ทวีพริ้น (1991) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 237 น.

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2555. “ตีนตุ๊กแก”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2488 (22 เมษายน 2560).

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Ficus pumila”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:853513-1 (22 เมษายน 2560).

The Plant List. 2013. “Ficus pumila L.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2811930 (22 เมษายน 2560).

The Royal Horticultural Society. 2017. “Ficus pumila”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.rhs.org.uk/Plants/7210/Ficus-pumila/Details (22 เมษายน 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้