ชื่อไทย
มะเดื่อฝรั่ง
ชื่อสามัญ
Kadota Fig
ชื่อวิทยาศาสตร์

Ficus carica L. 'Kadota'

สกุล
Ficus
สปีชีส์
carica
ชื่อวงศ์
MORACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มขนาดใหญ่ หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 9 ม. ไม่ผลัดใบ  ลำต้น กิ่งก้านเป็นสีน้ำตาลเทา 

ใบ ใบเดี่ยว สีเขียว เป็นลูปหยักลึก

ดอก ออกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กอยู่ภายในส่วนที่เป็นฐานรองดอก ถูกโอบไว้ดูคล้ายผล ขนาดเล็ก ดอกมี 3 ประเภท ดอกเพศเมียก้านชูเกสรเพศเมียยาว ดอกเพศเมียก้านชูเกสรเพศเมียสั้น ดอกเพศผู้ 

ผล ผลของมะเดื่อฝรั่งไม่ได้เป็นผลจริง แต่เป็นส่วนของฐานรองดอกที่ประกอบด้วยก้านช่อดอกโอบเข้าหากัน (Synconium) จัดเป็นผลแบบเมล็ดเดียว (Drupelet) ซึ่งมีขนาดเล็กเรียงกันอยู่ภายในก้านช่อผล มะเดื่อฝรั่งพันธุ์ Kadota ผลขนาดกลางถึงเล็ก ผิวผลมีความเหนียวและมีผิวสีเหลืองสีเขียวและเนื้อสีเหลืองหวาน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบดินที่มีความชื้นต่ำ ควรปลูกในพื้นที่ๆมีอากาศร้อนและแห้ง ทนทานดินเปรี้ยว และต้องการการตัดแต่งกิ่งเสมอ

ถิ่นกำเนิด

อินเดียและศรีลังกา

การกระจายพันธุ์

ในเอเชียตะวันตก ตุรกี-ปากีสถาน แอฟริกาเหนือ (แอลจีเรีย โมร็อกโก ตูนิเซีย)

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ปักชำ

ตอนกิ่ง

การตัดแต่งกิ่งช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ โดยตัดกิ่งออกประมาณ 1/3 หรือ 1/4 ของกิ่งเก่า เพื่อเพื่มผลผลิตของมะเดื่อฝรั่ง

ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชเศรษฐกิจ

ปลูกเพื่อการค้า

ผลสามารถรับประทานได้ ทั้งผลสด และอบแห้ง ทำเป็นแยม หรือทำเป็นน้ำผลไม้

มะเดื่อฝรั่งเป็นแหล่งที่ดีของเส้นใยอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อขบวนการกำจัดของเสียในร่างกาย ในผลสดมีปริมาณเส้นใย 1.2 % ส่วนในผลอบแห้งสูงถึง 5.6 % เกลือ โปแตสเซียม กรดอินทรีย์ ของมะเดื่อฝรั่งช่วยสร้างความสมดุลระหว่างความเป็นกรด-ด่าง ในร่างกายโดยไม่ก่อให้เกิดกรดมากเกินไป

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชสวน. 2014. “มะเดื่อฝรั่ง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://hort.ezathai.org/?p=3969 (12 พฤษภาคม 2560).

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2017. “การปรับปรุงพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/52/04-plant/Narongchai/plant_00.html (12 พฤษภาคม 2560).

Learn 2 Grow. 2017. “FICUS carica 'Kadota' ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.learn2grow.com/plants/ficus-carica-kadota/ (12 พฤษภาคม 2560).

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Ficus carica”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:852556-1 (12 พฤษภาคม 2560).

National Gardening Association. 2017. “Common Fig (Ficus carica 'Kadota')”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://garden.org/plants/view/128224/Common-Fig-Ficus-carica-Kadota/ (12 พฤษภาคม 2560).

Plants For A Future. 2012. “Ficus carica”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.pfaf.org/user/plant.aspx?latinname=ficus+carica (12 พฤษภาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Ficus carica L.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2809827 (12 พฤษภาคม 2560).

Weloveshopping. “(Kadota)”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.weloveshopping.com/shop/showproduct.php?pid=25571345&shopid=274646 (12 พฤษภาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้