ชื่อไทย
เอื้องสายสามสี
ชื่อท้องถิ่น
เอื้องนางฟ่อน (เชียงใหม่)/ เอื้องสายสามสี (กทม.)
ชื่อวิทยาศาสตร์

Dendrobium crystallinum Rchb.f.

ชื่อพ้อง

Callista crystallina (Rchb.f.) Kuntze

ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น กล้วยไม้อิงอาศัย ยาว 30-60 ซม. ลำลูกกล้วยกลมยาว ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-7 มม. มีกาบสีเทา

ใบ ใบรูปรีแกมรูปหอก กว้าง 2.0-2.5 ซม. ยาว 8-10 ซม. มักทิ้งใบตอนออกดอก

ดอก ออกตามข้อเป็นช่อสั้น 1-3 ดอก บานเต็มที่กว้าง 3-4 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว มีแต้มสีชมพูม่วงที่ปลายกลีบ กลีบปากสีขาว มีแต้มใหญ่สีเหลือง กลางกลีบ และมีแต้มสีชมพูม่วง ที่ปลายกลีบ

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร,ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าผลัดใบและป่าดิบเขา ทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้

ถิ่นกำเนิด

อัสสัม บังคลาเทศ กัมพูชา จีนภาคใต้-ตอนกลาง ไห่หนาน ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกกอที่มีรากติดไปปลูก

เพาะเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อ

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-พฤษภาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อความสวยงาม

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “เอื้องนางฟ่อน”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1936 (13 กันยายน 2560).

ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในไทย. 2556. “Dendrobium crystallinum Rchb.f. เอื้องนางฟ่อน”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=249 (13 กันยายน 2560).

Flora of China. “Dendrobium crystallinum”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=250092785 (13 กันยายน 2560).

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Dendrobium crystallinum Rchb.f.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:627204-1 (13 กันยายน 2560).

The Plant List. 2013. “Dendrobium crystallinum Rchb.f.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-57517 (13 กันยายน 2560).

Wikipedia. “Dendrobium crystallinum”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Dendrobium_crystallinum (13 กันยายน 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้