ชื่อไทย
หวายทะนอย
ชื่อท้องถิ่น
ระฟ้าปู (ปัตตานี)
ชื่อสามัญ
Skeleton fork fern
ชื่อวิทยาศาสตร์

Psilotum nudum (L.) P. Beauv.

สกุล
Psilotum
สปีชีส์
nudum
ชื่อพ้อง

Bernhardia antillarum Müll. Hal. 

Lycopodium nudum L.

ชื่อวงศ์
PSILOTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น หวายทะตอย เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายเฟิน ลำต้นทอดนอนสั้น มีส่วนคล้ายรากสีน้ำตาล คลุมแน่น แตกกิ่งแบบแยกสองแฉก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 -1.5 มม. ลำต้นเหนือดิน ออกเป็นกระจุกตั้งตรง แผ่ออกหรือห้อยลง สูง 10-60 ซม. สีเขียว เกลี้ยง ส่วนปลายแตกกิ่งแบบแยกสองแฉกหลายครั้ง มีร่องและสันตามยาว ขนาดเว้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1.5 มม. ตามกิ่งมีเกล็ดขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 มม. รูปไข่ ปลายเป็นติ่งแหลม กระจายทั่วตามสัน ไม่มีราก แต่มีไรซอยด์ ทำหน้าที่ดูดน้ำและเกลือแร่

สปอร์ มีกลุ่มอับสปอร์ ติดอยู่ระหว่างเกล็ดของลำต้นเหนือดิน ขนาดประมาณ 2 มม. สีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร,ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นอิงอาศัยกับต้นไม้ใหญ่ ที่มีกลุ่มมอสปกคลุม บริเวณป่าทึบ หรือบริเวณที่ร่ม พบตามเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนทั่วโลกในไทยพบทั่วทุกภาค

ถิ่นกำเนิด

อเมริกาเหนือ ฮาวาย 

การกระจายพันธุ์

แอฟริกาเขตร้อน ทวีปอเมริกา เอเชียเขตร้อน ออสเตรเลีย ฮาวาย ตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น เกาะ Lord Howe และประเทศนิวซีแลนด์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้สปอร์ แยกกอ

ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับตกแต่ง ปลูกเป็นพืชคลุมดิน

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “สะย้า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=showone&id=1950 (3 พฤษภาคม 2560)

Global Biodiversity information Facility. 2016. “Psilotum nudum (L.) P. Beauv.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.gbif.org/species/2688176 (3 พฤษภาคม 2560)

Native Plants Hawaii. 2009. “Psilotum nudum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://nativeplants.hawaii.edu/plant/view/Psilotum_nudum (3 พฤษภาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Psilotum nudum (L.) P. Beauv.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-26602814 (3 พฤษภาคม 2560)

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้