ชื่อไทย
ชาฮกเกี้ยน
ชื่อท้องถิ่น
ข่อยจีน, ชาญวน(กทม.) / ชา(กลาง,เชียงใหม่) / ชาญี่ปุ่น(กลาง)
ชื่อสามัญ
Philippine tea/ Fukien Tea
ชื่อวิทยาศาสตร์

Ehretia microphylla Lam.

สกุล
Ehretia
ชื่อพ้อง

Carmona heterophylla Cav.

Carmona microphylla (Lam.) G.Don

Carmona retusa (Vahl) Masam.

Cordia coromandeliana Retz. ex A.DC.

Cordia retusa Vahl

ชื่อวงศ์
BORAGINACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2.5 ม. แตกกิ่งก้านหนาแน่น กิ่งแตกจากลำต้นเป็นลักษณะพุ่มมีใบมากและหนาแน่น ก้านเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ มักออกเป็นกระจุกตามกิ่งสั้นๆ รูปไข่กลับแคบ ปลายแยกเป็นพูแหลม 3-5 แฉก ปลายพูมักเป็นติ่งหนามอ่อน โคนใบรูปลิ่ม ใบกว้าง 0.5-2.0 ซม. ยาว 1-4 ซม.หลังใบสีเขียมเข้มเป็นมัน ขรุขระเล็กน้อย ท้องใบสีเขียวอ่อน

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกย่อย 2-5 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปแถบสีเขียวอ่อน ด้านนอกมีขนยาวประปราย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อยเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยมแคบ ปลายมน ดอกบานเต็มที่กว้าง 0.8 ซม.

ผล ชนิดของผลเป็นผลเดี่ยว ผลมีเนื้อและเมล็ด สีของผลอ่อนสีส้มแดงรูปร่างผลกลม

เมล็ด 4 เมล็ดใน 1 ผล

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ทนแล้งได้ดี แต่ไม่ทนน้ำท่วม

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน และเอเชียเขตอบอุ่น 

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง

ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ตกแต่งสวน

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิสวนหลวง ร.9. 2542. พรรณไม้ในสวนหลวง ร.9 เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 139 น.

BlogGang.com. 2558. “ชาฮกเกี้ยนหรือชาดัด”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=jitigan77&month=07-08-2015&group=29&gblog=31 (11 พฤศจิกายน 2559).

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Ehretia microphylla Lam.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:116079-1 (9 เมษายน 2560).

The Plant List. 2013. “Ehretia microphylla Lam.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2784796 (9 เมษายน 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้