ชื่อไทย
งิ้วป่าดอกขาว
ชื่อท้องถิ่น
เก๊ย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ ไก๊ (กะเหรี่ยง-ภาคเหนือ)/ ไกร่ (เชียงใหม่)/ ง้าว, ง้าวป่า (ภาคกลาง)/ งิ้วดอกขาว (ภาคเหนือ)/ งิ้วป่า (ประจวบคีรีขันธ์, ภาคใต้)/ งิ้วป่าดอกขาว, งิ้วผา (ภาคเหนือ)/ นุ่นป่า (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์

Bombax anceps Pierre

สกุล
Bombax
สปีชีส์
anceps
ชื่อพ้อง

Bombax anceps var. cambodiense (Pierre) A.Robyns

Bombax anceps var. cambodiense (Pierre) Robyns

Bombax cambodiense Pierre

Bombax insigne subsp. anceps (Pierre) Prain

ชื่อวงศ์
MALVACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ผลัดใบ สูงถึง 30 ม. ลำต้นตรง เปลือกสีเทา มีหนามตามแข็งตามลำต้นมากมายโดยเฉพาะต้นอ่อน และกิ่งก้าน

ใบ ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง ใบย่อย 5-7 ใบ แผ่นใบรูปใบหอกหรือรูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายแหลม โคนรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ 

ดอก ดอกเดี่ยว มีขนาด 6.5-8.0 ซม. สีขาวครีมแกมม่วง ออกเป็นกลุ่ม 2-4 ดอก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง มี 2-4 พู สีเขียวสด เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยบนฐานดอกที่แข็ง กลีบดอกโค้งงอไปด้านหลังปิดส่วนของกลีบเลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว มีขนละเอียดด้านนอก เกสรตัวเพศผู้มีเป็นจำนวนมาก 200-300 อัน สีขาว เกสรเพศเมียสีชมพูอมม่วงมีอันเดียว ปลายแยกเป็น 5 แฉก

ผล รูปทรงกระบอกยาว หรือรูปกระสวย กว้างประมาณ 5 ซม. ยาว 12-15 ซม. ขอบขนาน โค้งงอเล็กน้อย มีสันตื้นๆ 5 สัน แห้งแล้วแตกตามรอยตะเข็บ

เมล็ด รูปทรงกลมสีดำขนาดเล็ก มีปุยสีขาวห่อหุ้มคล้ายเมล็ดฝ้าย

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ป่าเบญจพรรณ และเขาหินปูน ตามที่เปิดเชิงเขาและไหล่เขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกเฉียงใต้ สูง 400-1,000 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

พบที่จีนตอนใต้ พม่า กัมพูชา ในไทยพบแทบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ 

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ธันวาคม-มีนาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

ผล ให้เส้นใยใช้ทำหมอนและที่นอน รสหวาน ฝาดเย็น แก้พิษงู

เปลือกต้น ผสมเปลือกต้นนุ่น ต้มน้ำดื่ม แก้อาหารเป็นพิษ รักษาโรคบิด

ใบ รสเย็น ตำพอกแก้ฟกช้ำ บดผสมน้ำ ทาแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ

ราก รสจืดเย็น ขับปัสสาวะ เป็นยากระตุ้น และยาบำรุง

ยาง รสเย็นเมา กระตุ้นความต้องการทางเพศ ห้ามเลือดที่ตกภายใน ขับน้ำเหลืองเสีย บำรุงกำลัง แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ระดูมามากกว่าปกติ

ดอก รสหวาน ฝาดเย็น แก้พิษงู ดอกแห้งรสหวานเย็น รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แก้ปวด แก้คัน แก้พิษไข้ 

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ง้าว”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=800 (17 มกราคม 2560).

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “งิ้วป่า”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=30 (17 มกราคม 2560).

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “งิ้วป่า”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsLinkno=1493&words=งิ้วป่า&typeword=word (17 มกราคม 2560).

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Bombax anceps Pierre”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:112236-1 (17 มกราคม 2560).

The Plant List. 2013. “Bombax anceps Pierre”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2679056 (17 มกราคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้