ชื่อไทย
ชงโคดอกเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์

Bauhinia tomentosa L.

สกุล
Bauhinia
ชื่อพ้อง

Bauhinia volkensii Taub.

Alvesia bauhinioides Welw.

Bauhinia pubescens DC.

ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่ม สูงประมาณ 3 ม. กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง

ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ ขนาดผ่าศูนย์กลาง 4-8 ซม. มี 7-9 เส้นใบ ปลายใบเว้าลึก มีลักษณะเป็น 2 พู ปลายมน ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลประปราย ก้านใบยาว 1-3 ซม.

ดอก สีเหลืองสด ออกเป็นช่อสั้น ก้านดอกยาว 1 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับกว้าง เมื่อบานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 ซม. มีเกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน

ผล เป็นฝักแบน มีขนสีน้ำตาลปกคลุมแน่น กว้าง 1.0-1.5 ซม. ยาว 7-15 ซม. เมื่อแก่ฝักจะแตกออก

เมล็ด มี 4-6 เมล็ด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยปลูกได้ทั่วไป

ถิ่นกำเนิด

ในแถบเอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

อินเดีย คาบสมุทรอินโดจีน มาเลเซีย จนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยปลูกได้ทั่วไป

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ลำต้น เปลือกใช้ชงเป็นชากลั้วคอ

ราก นำมาต้มน้ำดื่ม ใช้ถ่ายพยาธิ

ใบ ใช้เป็นอาหารสัตว์หรือสีย้อมผ้าจะให้สีเหลือง

ดอก แก้ท้องร่วง บิด

ผล ช่วยขับปัสสาวะ

เมล็ด ช่วยกระตุ้นทางเพศ น้ำยางจากเมล็ดนำมาผสมน้ำส้มสายชูใช้ทาบริเวณที่แมลงสัตว์กัดต่อย

แหล่งอ้างอิง

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2015. “ชงโคดอกเหลือง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/plant-guide/yellow-bauhinia/ (12 ตุลาคม 2559).

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพมหานคร. 153 น.

The Plant List. 2013. “Bauhinia tomentosa L.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-833  (12 ตุลาคม 2559).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้