ชื่อไทย
เนระพูสีไทย
ชื่อท้องถิ่น
กลาดีกลามูยี (มาเลย์-ปัตตานี)/ คลุ้มเลีย ว่านหัวฬา (จันทบุรี)/ ดีงูหว้า (ภาคเหนือ)/ ดีปลาช่อน (ตราด)/ นิลพูสี (ตรัง)/ เนระพูสีไทย (ภาคกลาง)/ มังกรดำ (กรุงเทพฯ)/ ม้าถอนหลัก (ชุมพร)/ ละเบ๊าะบูเก๊ะ (มาเลย์-ยะลา)/ ว่านค้างคาว (ทั่วไป)/ ว่านพังพอน (ยะลา)
ชื่อสามัญ
<p>Bat flower/ Cat&rsquo;s whiskers</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Tacca chantrieri André

สกุล
Tacca
สปีชีส์
chantrieri 
ชื่อพ้อง

Clerodendrum esquirolii H.Lév.

Schizocapsa breviscapa (Ostenf.) H.Limpr.

Tacca esquirolii (H.Lév.) Rehder

ชื่อวงศ์
DIOSCOREACEAE
กลุ่มพรรณไม้
สมุนไพร
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สูง 50-60 ซม.

ใบ: ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม แผ่นใบแผ่รูปหอกแกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 7-15 ซม. ยาว 20-60 ซม. ก้านใบยาว 15-30 ซม.

ดอก: ดอกสีม่วงดำ หรือสีเขียวเข้ม ออกเป็นช่อลักษณะเป็นกลุ่ม ก้านช่อดอกยาว 30-50 ซม. มีใบประดับ 2 คู่ สีเขียวเข้มหรือสีม่วงดำ อยู่ตรงข้าม ใบประดับคู่นอกรูปรี กว้าง 0.5-1 ซม. ยาว 4-6 ซม. ใบประดับคู่ในแผ่กว้าง ขนาด 2-8 ซม. ยาว 2.5-12 ซม. นอกจากนี้ยังมีใบประดับที่ลดรูปเป็นเส้นกลมอีก 5-25 อัน สีม่วงหรือม่วงอมเขียว ขนาดยาว 10-20 ซม. ดอกย่อยกว้าง 0.5-3 ซม. ยาว 1.5-3 ซม. กลีบดอกมีชั้นเดียว 6 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน

ผล: ผลลักษณะเป็นกระสวยรูปสามเหลี่ยม มีสัน 6 สัน เมื่อแก่ไม่แตก ขนาดกว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. มีกลีบดอกติดอยู่ไม่หลุดร่วงง่าย

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยพบทั่วไปในป่าดิบชื้น พบที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 500-10000 ม.

ดิน: ดินร่วน
น้ำ: ปานกลาง ความชื้นสัมพัทธ์สูง
แสงแดด: รำไรถึงครึ่งวัน

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน และเอเชียเขตอบอุ่น

การกระจายพันธุ์

พบตั้งแต่อินเดีย บังคลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ ลาว จนถึงมาเลเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด หรือขุดเง่ามาทอนเป็นท่อนๆแล้วนำไปชำในที่ชุ่มชื้น

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-สิงหาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ปลูกเป็นไม้ประดับได้

เหง้าใต้ดิน ต้มกับไก่ รับประทานเป็นยาบำรุงกำลังสตรีมีครรภ์ ทั้งต้นต้มอาบ รักษาอาการผื่นคัน

เป็นว่านเสน่ห์เมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี บางท่านเชื่อว่า ถ้านำหัวมาดองเหล้ากินก่อนนอนจะช่วยเพิ่มพลังทางเพศ

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ค้างคาวดำ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=891 (21 กรกฎาคม 2560).

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “เนระพูสีไทย ดอกไม้แห่งรัตติกาล”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=524:2012-08-21-12-18-26&catid=25:the-project&Itemid=68 (21 กรกฎาคม 2560).

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “ว่านค้างคาว”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/plant-library/bat-flower/ (21 กรกฎาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Tacca chantrieri André”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-267832 (21 กรกฎาคม 2560).

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Tacca chantrieri André”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:827891-1 (21 กรกฎาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้