ชื่อไทย
เหลืองอินเดีย
ชื่อสามัญ
Golden Tree / Tallow Pui
ชื่อวิทยาศาสตร์

Handroanthus chrysanthus (Jacq.) S.O. Grose

สกุล
Handroanthus
ชื่อพ้อง

Bignonia chrysantha Jacq.

Handroanthus chrysanthus subsp. chrysanthus

Tabebuia chrysantha (Jacq.) G.Nicholson

Tabebuia rufescens J.R.Johnst.

Tecoma chrysantha (Jacq.) DC.

Tecoma evenia Donn.Sm.

Tecoma palmeri Kraenzl.

ชื่อวงศ์
BIGNONIACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ต้นขนาดกลางสูง 5-9 ม. ผลัดใบเรือนยอดทึบ

ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือซึ่งประกอบด้วยใบย่อย 5 ใบ ใบย่อยรูปรีแกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานปลายเรียวแหลมและเป็นติ่งสั้นๆ โคนมน มีขนอ่อนนุ่ม ๆ ด้านล่างมีขนรูปดาว

ดอก สีเหลืองสดติดกันเป็นหลอดรูปแตร ยาว 4-7 ซม.ปลายแฉกมี 5 กลีบเมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม.เกสรผู้ 4 อันสั้น 2 ยาว 2 โคนก้านมีขน เวลามีดอกจะทิ้งใบหมดทั้งต้น เหลือเพียงดอกเป็นสีเหลืองอร่าม

ผล เป็นฝักแคบ ยาว 10-15 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

มักจะอยู่บนเนินเขาที่เปิดโล่งบางครั้งก็เป็นหินปูนที่ระดับความสูง 750 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิดอยู่ในเวสต์อินดีส โคลัมเบีย ถึงตอนเหนือของ เวเนซูเอลาในทวีป อเมริกาใต้

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ตอนกิ่ง ใช้เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-เมษายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ขึ้นได้ดีในภาคเหนือของประเทศไทย

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “เหลืองอินเดีย”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=865 (21 กรกฎาคม 2560).

ไทยรัฐออนไลน์. 2558. ““เหลืองอินเดีย” อร่ามตาช่วงฤดูร้อน”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/497330 (21 กรกฎาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Handroanthus chrysanthus (Jacq.) S.O.Grose”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-347059 (21 กรกฎาคม 2560).

Useful Tropical Plants. 2017. “Handroanthus chrysanthus”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Handroanthus+chrysanthus (21 กรกฎาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้