ชื่อไทย
หว้า
ชื่อท้องถิ่น
ห้าขี้แพะ (เชียงราย)
ชื่อสามัญ
Black plum/ Jambolan
ชื่อวิทยาศาสตร์

Syzygium cumini (L.) Skeels

สกุล
Syzygium 
สปีชีส์
cumini 
ชื่อพ้อง

Calyptranthes caryophyllifolia Willd.

Calyptranthes cumini (L.) Pers.

Syzygium obovatum (Poir.) DC.

Syzygium obtusifolium (Roxb.) Kostel.

ชื่อวงศ์
MYRTACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ต้นสูง 10-35 ม.

ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7 ซม. ยาว 8-14 ซม. เส้นขอบใบปิด เส้นใบ 19-30 คู่ ก้านใบยาว 0.6-3.0 ซม.

ดอก สีขาวหรือสีเหลืองอ่อนออกเป็นช่อที่ซอกใบหรือปลายยอด แกนช่อยาว 4.5-10.0 ซม. ฐานรองดอกรูปกรวย ขนาด 0.2-0.5 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ รูปกลมมน เกสรผู้จำนวนมาก

ผล ผลสด รูปรีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ สีม่วงดำ ผิวมัน ขนาดประมาณ 1 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยพบทั่วไป ตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 1,100 ม. 

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน ควีนส์แลนด์ และเอเชียเขตอบอุ่น

การกระจายพันธุ์

จากอินเดีย จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ธันวาคม-มิถุนายน
ระยะเวลาการติดผล
ธันวาคม-มิถุนายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

ผลสุกรับประทานได้ มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปใช้ทำน้ำผลไม้และไวน์หว้า ให้สีม่วง มีรสชาติดี เมล็ดมีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “หว้า”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1136 (18 กรกฎาคม 2560).

Kew Science, The Royal Botanic Gardens. “Syzygium cumini (L.) Skeels”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:601603-1 (18 กรกฎาคม 2560).

NParkFlora&Funna Web. 2013. “Syzygium cumini (L.) Skeels”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/Special-Pages/plant-detail.aspx?id=3158 (18 กรกฎาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Syzygium cumini (L.) Skeels”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-199476 (18 กรกฎาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้