ชื่อไทย
เกาลัดไทย
ชื่อท้องถิ่น
เกาลัด(กทม.) / หงอนไก่ใบใหญ่ (ใต้)
ชื่อสามัญ
Chinese chestnut/ Seven sisters’ fruit
ชื่อวิทยาศาสตร์

Sterculia monosperma Vent.

สกุล
Sterculia
สปีชีส์
monosperma
ชื่อพ้อง

Sterculia monosperma var. monosperma

ชื่อวงศ์
MALVACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้น สูง 4-30 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นเรียบหรืออาจเป็นร่องลึก ตามแนวยาวลำต้น กิ่งอ่อนเกลี้ยง

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนกันบริเวณใกล้ ๆ ปลายกิ่ง รูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 5-15 ซม. ยาว 10-30 ซม. โคนมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย ปลายมนสอบแคบกว่าทางโคนใบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา เกลี้ยง แผ่นใบด้านบนมัน เส้นกลางใบ เส้นแขนงใบและเส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นชัดทางด้านล่าง ก้านใบยาว 2-10 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อ แบบแยกแขนง(panicle) ออกตามปลายกิ่งและเหนือรอยแผลใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาวได้ถึง 35 ซม. ห้อยลง มีช่อแขนงมาก ดอกขนาดเล็ก สีชมพูอมเขียว กลิ่นหอมอ่อน ๆ รูปร่างคล้ายโคมเล็ก ๆ ด้านนอกมีขนประปราย ดอกบานเต็มที่ เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม. กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ปลายแยกออกเป็นรูปกรวยยาว 5 แฉก แต่ละแฉกโค้งงุ้มปลายเชื่อมติดกัน เมื่อดอกใกล้โรย กลีบจะแยกเป็นอิสระพร้อมกับบิดเกลียว ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ รังไข่มี 5 พู มีขนปกคลุมแน่น

ผล ผลออกรวมกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มย่อยมักี 2 ผล ก้านช่อผลยาวถึง 20 ซม. ผลสีแดงหรือสีแสด รูปมนหรือค่อนข้างกลม กว้าง 2.5 ซม. ยาว 5 ซม. เปลือกแข็ง มีขนคล้ายกำมะหยี่ เปลือกเป็นคลื่นไปตามรูปเมล็ดภายใน ปลายผลมักเป็นงอยโค้งเล็กน้อย ผลแก่แตกตามรอยประสานด้านข้าง ก้านผลเห็นไม่ชัด

เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบดินอุดมสมบูรณ์ และมีการระบายน้ำได้ดี

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดที่อินเดีย จีน เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

การกระจายพันธุ์

จีนตอนใต้, ไต้หวัน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ไทย, เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
กันยายน-เมษายน
ระยะเวลาการติดผล
กันยายน-เมษายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชประดับ

ปลูกเพื่อกินเมล็ด เมล็ดต้มหรืออบกินได้ รสชาติคล้ายเกาลัด 

และปลูกเป็นไม้ประดับตามสวน

แหล่งอ้างอิง

ดร. จำลอง เพ็งคล้าย. 2538. เกาลัด. น. 403. อ้างโดย ราชบัณทิตยสถาน. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก . เพื่อนพิมพ์ จำกัด. 495 น.

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. "เกาลัด". [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=เกาลัด&genus=Sterculia&species=monosperma&author=Vent. (16 กรกฎาคม 2560).

NParkFlora&Funna Web. 2013. “Sterculia monosperma Vent.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/special-pages/plant-detail.aspx?id=3139 (16 กรกฎาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Sterculia monosperma Vent.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50315276 (16 กรกฎาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้