ชื่อไทย
เดหลีใบกล้วย
ชื่อท้องถิ่น
เจ็ดทิวา หน้าวัวไทย (กทม.)
ชื่อสามัญ
Fragrant Spathiphyllum
ชื่อวิทยาศาสตร์

Spathiphyllum cannifolium (Dryand. ex Sims) Schott

สกุล
Spathiphyllum
ชื่อพ้อง

Anthurium dechardii Andrews

Dracunculus cannifolius (Dryand. ex Sims) Raf.

Leucochlamys callacea Poepp. ex Engl.

Massowia cannifolia (Dryand. ex Sims) K.Koch

Massowia canniformis (Kunth) K.Koch

ชื่อวงศ์
ARACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มคลุมดินขนาดเล็ก สูงประมาณ 30 - 50 ซม. มีการแตกกอจำนวนมากในปีที่ 2

ใบ ใบมีขนาดใหญ่และมันวาว ใบรูปไข่สีเขียวเข้ม

ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดที่ปลายกิ่ง มีจานรองดอกสีขาวถึงขาวนวล รูปรี โค้งงอเล็กน้อย
ปลายเรียวแหลมด้านหลังมีสีเขียว   ปลีดอกยาว  ดอกย่อยมีขนาดเล็ก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ไม่มีก้านดอก 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ปลูกได้ดีในพื้นที่มีแสงแดดรำไร

ถิ่นกำเนิด

พื้นเมืองในเขตป่าฝนของประเทศตรินิแดด

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกต้นอ่อน จากไหลและเหง้าใต้ดิน

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ใบสวยงามซึ่งเป็นที่นิยมนำไปจัดสวน

แกนดอกมีสารล่อแมลงวันทอง

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. “กวักมงคล”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/index.php/linkoldfragrant-2/279-spathiphyllum (11 กรกฎาคม 2560).

Learn2grow. 2017. “SPATHIPHYLLUM cannifolium”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.learn2grow.com/plants/spathiphyllum-cannifolium/ (11 กรกฎาคม 2560).

National Parks Board. 2013. “Spathiphyllum cannifolium”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/special-pages/plant-detail.aspx?id=2462 (11 กรกฎาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Spathiphyllum cannifolium (Dryand. ex Sims) Schott”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-193156 (11 กรกฎาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้