ชื่อไทย
ชวนชมพันธุ์อาทิตย์ทรงกลด
ชื่อสามัญ
<p>-</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Adenium obesum (Forssk.) Roem. & Schult. 'Atit Songklod'

สกุล
Adenium
สปีชีส์
Obesum
ชื่อพ้อง

-

ชื่อวงศ์
APOCYNACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่ม สูง 2-4 ม. ทุกส่วนมีน้ำยางขาว เปลือกเรียบ สีเทา สีเทาอมเขียว หรือสีเทาอมน้ำตาล โคนต้นเป็นโขด

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนถี่ตามปลายกิ่ง รูปใบหอกกลับ รูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนาน ปลายแหลม เว้าตื้น หรือเป็นติ่งแหลม โคนรูปลิ่มหรือสอบเรียว ขอบเป็นคลื่น แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน หรือมีขนเล็กน้อย ด้านบนเป็นมัน 

ดอก เป็นช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามปลายกิ่ง แต่ละช่อสั้น กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยตื้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันคล้ายรูปลำโพง ปลายแยกเป็นแฉกซ้อนกันหลายชั้น รูปใบหอกกลับ สีชมพูอ่อน ปลายกลีบเรียวแหลม บิดเวียนในดอกตูม เกสรเพศผู้ 5 เกสร ติดในหลอดกลีบดอก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 2 รังไข่ แยกกัน ก้านยอดเกสรเพศเมียช่วงปลายเชื่อมติดกัน

ผล แบบผลแห้งแตกแนวเดียว ออกเป็นคู่ รูปทรงกระบอกแกมรูปกระสวย ยาว 11-22 ซม. 

เมล็ด แบน ปลายทั้ง 2 ด้านมีขนเป็นพู่สีขาวนวล

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชวนชมเป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีการนำมาปลูกประดับทั่วไป สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายหรือหิน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือการตอนและปักชำ โดยเลือกกิ่งที่ไม่อ่อนจนเกินไป กั้นรอยบากไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อที่บากเชื่อมติดกัน

เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยหรือดินปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำน้อยและแสงแดดจัด

ระยะเวลาการติดดอก
ออกดอกตลอดปี ออกมาในเดือนมกราคม-พฤษภาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับเพิ่มความสวยงาม 

น้ำยางมีสาร abobioside, echubioside ซึ่งเป็นพิษ หากถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง หากเข้าตาทำให้ตาอักเสบ

แหล่งอ้างอิง

ฉัตรชัย เงินแสงสรวย, รัมภ์รดา มีบุญญา, ปวีณา เวสภักตร์, ณัฐนนท์ มีพรหม, สิริพร ชดช้อย, วีรีศา บุญทะศักดิ์ และจามิกร วงศ์จิ้ว. 2562. พรรณไม้ในวังสระปทุม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ชวนชม”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2285 (25 มิถุนายน 2560).

ธัญนันท์ วีระกุล.  2552. ไม้มงคล. พิมพ์ครั้งที่ 3. บ้านและสวน, กรุงเทพฯ.

ปรัชญา ศรีสง่า และชัยยุทธ กล่ำแวววงศ์.  2553. พรรณไม้เมืองไทย: ไม้ต่างถิ่นในเมืองไทย 1. องค์การสวนพฤกษศาสตร์, เชียงใหม่.

ภวพล ศุภนันทนานนท์, ชนินทร์ โถรัตน์ และพิชญะ วัชจิตพันธ์.  2560.  ไม้อวบน้ำ Succulents.  บ้านและสวน, กรุงเทพฯ.

LLIFLE - Encyclopedia of living forms. 2017. “Adenium obesum Roem. & Schult.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.llifle.com/Encyclopedia/SUCCULENTS/Family/Apocynaceae/116/Adenium_obesum (25 มิถุนายน 2560).

POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 22 May 2023.

TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), May 22, 2023.

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้