ชื่อไทย
ประดู่ป่า
ชื่อท้องถิ่น
จิต๊อก (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)/ ฉะนอง (เชียงใหม่)/ ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ)/ ตะเลอ เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ ประดู่ ประดู่ป่า (ภาคกลาง)/ ประดู่เสน (ราชบุรี, สระบุรี)
ชื่อสามัญ
<p>Burma padauk</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Pterocarpus macrocarpus Kurz

สกุล
Pterocarpus
สปีชีส์
macrocarpus
ชื่อพ้อง

Lingoum cambodianum Pierre

Lingoum glaucinum Pierre

Lingoum gracile Pierre

Lingoum macrocarpum (Kurz) Kuntze

Lingoum oblongum Pierre

Lingoum parvifolium Pierre

ชื่อวงศ์
FABACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้น สูง 15-40 ม. ลำต้นเปลาตรง เปลือกแตกเป็นร่องลึกหรือเป็นสะเก็ด สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลอมเทา มีน้ำยางสีแดง กิ่งมีขนสั้นนุ่ม

ใบ ใบประกอบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ เรียงเวียน มีใบย่อย 5-19 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายมน แหลม หรือเป็นติ่งแหลม โคนมน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ มีขนสั้นนุ่มทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 7-10 คู่ ปลายโค้งจดกันใกล้ขอบใบ

ช่อดอก แบบช่อแยกแขนงหรือช่อกระจะ ออกตามชอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาว 6-12 ซม. แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกรูปดอกถั่ว สีเหลือง มีกลิ่นหอม ฐานดอกรูปถ้วยสั้น กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ด้านนอกมีขน กลีบดอก 5 กลีบ มีกลีบกลาง 1 กลีบ กลีบคู่ข้าง 2 กลีบ และกลีบคู่ล่าง 2 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 เกสร เชื่อมติด 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมี 9 เกสร ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกัน อีก 1 เกสรแยกเป็นอิสระ อับเรณูมีขน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีขน 

ผล ผลแบบผลแห้งไม่แตกมีปีกเดียว รูปกลมหรือรูปค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-10 ซม. มีขนสั้นนุ่ม

เมล็ด 1-2 เมล็ด รูปทรงรีหรือรูปคล้ายไต

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และชายป่าดิบแล้ง ที่สูงใกล้ระดับทะเลปานกลางถึง 1,000 ม.

ถิ่นกำเนิด

เมียนมา ภูมิภาคอินโดจีน

การกระจายพันธุ์

ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาคยกเว้นภาคใต้

ในต่างประเทศพบที่ เมียนมา เวียดนาม ลาว และกัมพูชา 

 

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ดดยการเพาะเมล็ด 

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
มีนาคม-สิงหาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

นิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา

เนื้อไม้ มีสีแดงอมเหลือง มีลวดลายสวยงาม แข็งแรง ใช้ในงานก่อสร้าง ทำเสา พื้น ต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า เปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง

ราก ต้มน้ำดื่มรักษาโรคบิด

เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย

แหล่งอ้างอิง

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2015. “ประดู่ป่า”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/EPAC/province_plant/chon.htm (10 มกราคม 2559).

ฉัตรชัย เงินแสงสรวย, รัมภ์รดา มีบุญญา, ปวีณา เวสภักตร์, ณัฐนนท์ มีพรหม, สิริพร ชดช้อย, วีรีศา บุญทะศักดิ์ และจามิกร วงศ์จิ้ว. 2562. พรรณไม้ในวังสระปทุม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ประดู่”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2274 (10 มกราคม 2559).

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “ประดู่, ประดู่ป่า”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=879&name=ประดู่%2C%20%20ประดู่ป่า (10 มกราคม 2559).

สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน, ยุทธการ จำลองราช, รุ่งสุริยา บัวสาลี และไพรัช ระยางกูล. 2559. ต้นไม้ ป่า ห้วยขาแข้ง. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ.

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพรรณพืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. สำนักงานพระพุทธศาสนา, กรุงเทพฯ.

POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 5 July 2022.

TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), July 5, 2022.

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้