ชื่อไทย
ขลู่
ชื่อท้องถิ่น
ขลู(ใต้) / หนวดงั่ว หนวดงิ้ว หนาดงัว (อุดรธานี)/ หนาดวัว (กทม. อุดรธานี)
ชื่อสามัญ
Indian marsh fleabane
ชื่อวิทยาศาสตร์

Pluchea indica (L.) Less.

สกุล
Pluchea
สปีชีส์
indica
ชื่อพ้อง

Baccharis indica L.

Conyza corymbosa Roxb.

Conyza foliolosa Wall. ex DC.

Conyza indica (L.) Blume ex DC.

Conyza indica var. indica

ชื่อวงศ์
ASTERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่ม สูง 1-2 ซม.  ลำต้นและกิ่งก้านมีขนละเอียดปกคลุม

ใบ เดี่ยว ออกแบบสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 1-5 ซม. ยาว 2.5-10.0 ซม. ปลายใบมน ปลายใบมีขนาดใหญ่กว่าโคนใบ โคนใบสอบ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย โดยรอบมีขนขาวๆปกคลุม 

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด หรือซอกใบ ดอกเป็นฝอยสีขาวนวลหรือสีขาวอมม่วง กลีบดอกแบ่งออกเป็นวงนอกกับวงใน กลีบดอกวงนอกสั้นกว่าวงใน ภายในมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียสีขาวอมม่วงขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก เกสรตัวเมียแยกเป็น 2 แฉกสั้นๆ วงนอกเป็นรูปไข่ วงในคล้ายรูปหอกแคบ ปลายแหลม

ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก รูปทรงกระบอก รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก กว้าง 0.5-1.0 มม. ยาวประมาณ 1.0-1.5 มม.  

เมล็ด มีลักษณะเป็นฝอยเล็กๆ

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบชอบขึ้นตามธารน้ำ ที่ชื้นแฉะ โดยเฉพาะที่ที่น้ำเค็มขึ้นถึง ในไทบพบในจังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา

ถิ่นกำเนิด

สิงคโปร์

การกระจายพันธุ์

กัมพูชา อินเดีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย 

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง

ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ใบ ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มได้ เมื่อนำมาผึ่งให้แห้ง จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นน้ำผึ้ง ใช้ชงดื่มแทนชา 

ยอดมีรสมันใช้รับประทานเป็นผักสด

ต้นอ่อน บรรเทาอาการปวดข้อ ในโรคไขข้ออักเสบ รักษาประดง เลือดลม ตำผสมกับแอลกอฮอล์ ทาหลังบริเวณเหนือไต บรรเทาอาการปวดเอว ต้มน้ำอาบรักษาหิด ขี้เรื้อน

เปลือกต้น รสเมาขื่นหอม แก้ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร แก้กระษัย ขูดเอาขนออกให้สะอาด ลอกเอาแต่เปลือก หั่นเป็นเส้นมวนสูบ แก้ริดสีดวงจมูก หรือต้มรมริดสีดวงทวารหนัก

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ขลู่”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2058 (4 สิงหาคม 2560).

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “ขลู่”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:  http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=24 (4 สิงหาคม 2560).

Flora of China. “Pluchea indica”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200024357 (4 สิงหาคม 2560).

National Parks Board. 2013. “Pluchea indica L.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/Special-Pages/plant-detail.aspx?id=5078 (30 ตุลาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Pluchea indica (L.) Less”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-34323 (4 สิงหาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้