ชื่อไทย
ปาล์มสิบสองปันนา
ชื่อท้องถิ่น
เป้งดอย (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ
Pygmy Date Palm/ Dwart Date
ชื่อวิทยาศาสตร์

Phoenix roebelenii O'Brien

ชื่อพ้อง

-

ชื่อวงศ์
ARECACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-12 ซม. มีกาบใบติดแน่น ต้นสูงได้ถึง 5 ม.

ใบ ใบมีลักษณะคล้ายรูปขนนก ทางใบยาว 2 ม. ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง แผ่กระจายและโค้งอ่อนลู่ลง ก้านใบมีหนาม

ดอก ออกเป็นช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ออกระหว่างกาบใบยาว 30 ซม.

ผล ลักษณะรี ยาว 0.7 ซม. เมื่อสุกแล้วมีสีม่วงดำ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้กระถางขนาดใหญ่หรือปลูกลงแปลงกลางแจ้งเป็นกลุ่มหรือแถวเดี่ยว

ถิ่นกำเนิด

แคว้นสิบสองปันนา พม่า และอินเดีย

การกระจายพันธุ์

ตรินิแดดและโตเบโก

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ตกแต่งสวน

แหล่งอ้างอิง

ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2550. คู่มือ ปาล์มประดับ ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน;อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 304 น.

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ปาล์มสิบสองปันนา”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=1402&view=showone&Itemid=59 (17 ตุลาคม 2559).

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2542. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 2. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 151 น.

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Phoenix roebelenii O'Brien”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:668945-1 (22 ตุลาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Phoenix roebelenii O'Brien”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-152704 (1 พฤษภาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้