ชื่อไทย
กล้วยร้อยหวี
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยงวงช้าง บายศรี ปิซังเซริบู (มาเลเซีย)
ชื่อสามัญ
Kluai Roi Wi
ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa × paradisiaca L.

สกุล
Musa
สปีชีส์
paradisiaca
ชื่อพ้อง

Musa × chiliocarpa Backer ex K.Heyne

ชื่อวงศ์
MUSACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน ลำต้นเทียมเป็นกาบใบหุ้มซ้อนกัน สูงประมาณ 8 ม. เส้นรอบวงลำต้นประมาณ 86.5 ซม. แตกกอเช่นเดียวกับกล้วยทั่ว ๆ ไป

ใบ ใบเดี่ยวรูปขอบขนาน กว้าง 0.7 ม. ยาว 2.2 ม. ใบเรียงเป็น 2 ทาง สลับซ้ายขวาจนถึงยอด ขอบใบตั้งขึ้น มีไขบนกาบใบมาก

ดอก ช่อดอกออกจากบริเวณซอกใบ ห้อยลง มีใบประดับ หรือกาบปลีแข็งห่อหุ้มช่อดอกย่อย มีไขบนกาบปลีมาก ใบประดับสีเหลืองอมเขียว ปลายแหลม เมื่อบานใบประดับจะกางออกประกอบด้วยช่อดอกย่อยประมาณ 9 ช่อ กล้วยร้อยหวีมีงวงปลียาวเป็นพิเศษ บางครั้งยาวถึง 2 ม. มีจำนวนหวีมากอยู่ชิดกัน

ผล มีขนาดเล็กเรียงเบียดกันแน่นในหวี ผลสุกสีเหลือง รสหวานรับประทานได้ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

ประเทศอินโดนีเซีย

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อให้ความแปลกตา และสวยงาม

หมายเหตุ

นำเข้าจากประเทศศรีลังกาตั้งแต่รัชกาลที่ 3 และปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในประเทศไทย

แหล่งอ้างอิง

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 112 น.

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยร้อยหวี.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://bananacenterkp.weebly.com/358536213657362336183619365736293618362736233637.html (8 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Musa × paradisiaca L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-254888 (8 มิถุนายน 2560)

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้