ชื่อไทย
ผักคราด
ชื่อท้องถิ่น
ผักเผ็ด(นครราชสีมา,เหนือ)
ชื่อสามัญ
Para cress/ Toothache plant
ชื่อวิทยาศาสตร์

Acmella oleracea (L.) R.K.Jansen

สกุล
Acmella
ชื่อพ้อง

Anacyclus pyrethraria (L.) Spreng.

Bidens fusca Lam.

Bidens oleracea (L.) Cav. ex Steud.

Cotula pyrethraria L.

Pyrethrum spilanthus Medik.

ชื่อวงศ์
ASTERACEAE
กลุ่มพรรณไม้
สมุนไพร
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก อายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขา สูงประมาณ 20-30 ซม. หรือทอดไปตามดินเล็กน้อย แต่ปลายชูขึ้น ลำต้นกลมอวบน้ำ มีสีเขียวม่วงแดงปนเข้ม ลำต้นอ่อน มีขนปกคลุมเล็กน้อย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปสามเหลี่ยม รูปไข่ หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ ขอบใบเรียบ หรือจักเป็นฟันเลื่อยแบบหยาบๆ ก้านใบยาว 1-2 ซม. ผิวใบสากมีขน ใบกว้าง 3-4 ซม. ยาว 3-6 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ และปลายกิ่ง เป็นกระจุกสีเหลือง ลักษณะกลม รูปไข่ ปลายแหลมคล้ายหัวแหวน ยาว 8 มม. ดอกย่อยมี 2 วง วงนอกเป็นดอกเพศเมีย วงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านดอกเรียวยาว 2.5-15.0 ซม. ยกตั้งทรงกลมเหมือนหัวแหวน ริ้วประดับมี 2 ชั้น รูปใบหอกแกมรูปไข่ ยาวราว 6 มม. เกลี้ยง ดอกวงนอกเป็นดอกตัวเมีย มี 1 วง กลีบดอกรูปรางน้ำ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกรูปท่อ ปลายแยกเป็น 4-5 แฉก

ผล เป็นผลแห้งรูปไข่ ยาวราว 3 มม. มีสัน 3 สัน ปลายเว้าเป็นแอ่งเล็กน้อย รยางค์มีหนาม 1-2 อัน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบขึ้นทั่วไปในที่ลุ่ม ชื้นแฉะ และตามป่าละเมาะ ที่รกร้าง ที่ราบโล่งแจ้ง

ถิ่นกำเนิด

มีต้นกำเนิดในประเทศบราซิล และประเทศเปรู ของอเมริกาใต้

การกระจายพันธุ์

จีน ไต้หวัน  พบเป็นวัชพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปาปัวนิวกินี

การปลูกและการขยายพันธุ์

ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ดอก มีรสเผ็ด ชาลิ้น เป็นยาขับน้ำลาย แก้โรคในคอ รักษาแผลในปากคอ แก้ปวดฟัน(ใช้ดอกตำกับเกลืออมหรือกัดไว้บริเวณที่ปวด หรือใช้ดอกตำผสมกับเหล้าโรงเล็กน้อย ชุบสำลีอุดรูฟันที่ปวด) รำมะนาด แก้โรคลิ้นเป็นอัมพาต แก้โรคติดอ่างในเด็ก แก้ปวดศีรษะ ใบ รสชาติหวาน ขม เอียน เบื่อเล็กน้อย ชาลิ้น ใช้เคี้ยวเป็นยาแก้วปวดฟัน ยาชา แก้พิษตามทวาร แก้ริดสีดวง แก้ผอมเหลือง แก้เด็กตัวร้อน แก้ปวดหัว แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาแผล ยาผายลมเด็กแก้ท้องอืดเฟ้อ แก้สำรอกของเด็ก แก้อัมพาต ยาถ่ายสำหรับเด็ก แก้พุพอง แก้ตกเลือด แก้มึน แก้ตาฟาง แก้ฝีดาษ ต้นสด ตำผสมเหล้า หรือน้ำส้มสายชู อมแก้ฝีในคอ ต่อมน้ำลายอักเสบ แก้ไข้แก้ปวดฟัน  รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหารได้ 

ทั้งต้น มีรสเอียนเบื่อเล็กน้อย แก้พิษตานซาง แก้ริดสีดวง แก้ผอมเหลือง แก้เด็กตัวร้อน แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน ทั้งต้นชงดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้หอบไอ ระงับหอบ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้ปอดบวม แก้ไอกรน ไขข้ออักเสบ ตำพอกแก้พิษปวดบวม แก้งูและสุนัขกัด ทั้งต้นตำผสมสุรา ชุบสำลีอม แก้ฝีในคอ แก้คออักเสบ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้คันคอ ผสมขมิ้นอ้อย และเกลือสะตุ กวาดคอเด็กแก้ตัวร้อน แก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่าน ทั้งต้นต้มดื่ม แก้ปวดท้องหลังคลอด แก้ชอกช้ำภายในทรวงอก เจ็บปวดสีข้าง เป็นยาชาเฉพาะที่ ทั้งต้นตำพอก แก้พิษปวดบวม มีฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อนยุง ใช้เบื่อปลา

 ราก ใช้เคี้ยวแก้ปวดฟัน น้ำต้มราก รสเอียน เบื่อเล็กน้อย เป็นยาถ่าย ใช้เป็นยาอมบ้วนปาก แก้อาการอักเสบในช่องปาก แก้อาการอักเสบ และเจ็บคอ  เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ แก้ปวศีรษะ แก้คัน

ผล ปรุงเป็นยาแก้ร้อนใน 

เมล็ด เคี้ยวแก้ปากแห้ง เป็นยาขับน้ำลาย

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “ผักคราดหัวแหวน”. [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=76 (9 มกราคม 2560).

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Para cress”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=51&name=Para%20cress (9 มกราคม 2560).

Flora of China. “Acmella oleracea”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=242412042 (9 มกราคม 2560).

The Plant List. 2013. “Acmella oleracea (L.) R.K.Jansen”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-142218 (9 มกราคม 2560).

Useful Tropical Plants. 2017. “Acmella oleracea”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/Special-Pages/plant-detail.aspx?id=5201 (9 มกราคม 2560).

wikipedia. “ผักคราดหัวแหวน”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ผักคราดหัวแหวน (9 มกราคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้