ชื่อไทย
เอื้องกุหลาบแดง
ชื่อท้องถิ่น
ช้างแดง (เชียงใหม่)/ เอื้องกุหลาบแดง (กรุงเทพฯ)/ เอื้องฟ้าห้ำ (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์

Aerides crassifolia C.S.P.Parish ex Burb.

ชื่อพ้อง

Aerides expansa Rchb.f. 

ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ต้นกลมยาว สูง 10-15 ซม.

ใบ ใบรูปขอบขนาน อวบหนาและแข็ง ขนาด กว้าง 3-4 ซม. ยาว 8-15 ซม.

ดอก ดอกออกเป็นช่อยาวห้อยโค้งลง 15-20 ดอก กลีบดอกสีชมพูสดหรือม่วงแดง กลีบปากเป็นแผ่กว้าง ตรงกลางมีแถบสีม่วงอมชมพูเข้ม ดอกขนาด 2.5-3.0 ซม.

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร,ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าดิบแล้งหรือป่าผลัดใบ เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ระดับที่พืชต้องการน้ำปานกลาง และต้องการแสงแดดรำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า

ถิ่นกำเนิด

สกุล Aerides เติบโตขึ้นในเขตร้อนของเอเชียในอินเดียเนปาลจีนตอนใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟิลิปปินส์และนิวกินี

การกระจายพันธุ์

ปากีสถาน พม่า ลาว เวียดนาม และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ตัดยอกที่มีรากติดไปปลูก

เพาะเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อ

ระยะเวลาการติดดอก
เมษายน-พฤษภาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และตัดดอกมาปักแจกันเพื่อความสวยงาม

เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางแขวนประดับสวน หรือมุมบ้าน หากเลี้ยงในกรุงเทพฯ จะออกดอกค่อนข้างยากและช่อดอกสั้น

แหล่งอ้างอิง

โครงการรวบรวมข้อมูลพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี. 2553. “เอื้องกุหลาบ” .[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.agri.ubu.ac.th/research_web/total_orchid/line=39.html (27 พฤศจิกายน 2559).

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “เอื้องกุหลาบแดง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/plant-library/aerides-crassifolia/ (27 พฤศจิกายน 2559).

Orchid Species. “Aerides crassifolia Parish & Rchb.f.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.orchidspecies.com/aeredescrassifolia.htm (27 พฤศจิกายน 2559).

The Plant List. 2013. “Aerides crassifolia C.S.P.Parish ex Burb.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-4050 (27 พฤศจิกายน 2559).

wikipedia. “Aerides”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Aerides (27 พฤศจิกายน 2559).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้