ชื่อไทย
เอื้องครั่งสายสั้น
ชื่อท้องถิ่น
เอื้องครั่ง (ภาคเหนือ)/ เอื้องน้ำครั่ง (กทม.)/ เอื้องอินทกริต เอื้องอัตตะกริต (เพชรบูรณ์)
ชื่อสามัญ
Parish's Dendrobium
ชื่อวิทยาศาสตร์

Dendrobium parishii Rchb.f.

ชื่อพ้อง

Callista parishii (Rchb.f.) Kuntze

Callista rhodopterygia (Rchb.f.) Kuntze 

Dendrobium polyphlebium Rchb.f.

Dendrobium rhodopterygium Rchb.f.

ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นรูปแท่งดินสอกลม เส้นผ่าน ศูนย์กลาง 1 ซม. ยาว 15-30 ซม. ห้อยลง

ใบ รูปขอบขนาน กว้าง 1.5-2.0 ซม. ยาว 5-6 ซม. ทิ้งใบเมื่อผลิดอก 

ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามข้อ จำนวน 1-3 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีม่วงแดง กลีบปากมีแต้มสีม่วงเข้มสองข้างที่โคนกลีบ ดอกบานเต็มที่ กว้าง 5 ซม. มีกลิ่นหอม      

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร,ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าดิบเขา พบที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 800-1800 ม.ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ถิ่นกำเนิด

อัสสัม บังคลาเทศ กัมพูชา เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก จีนตอนใต้-ตอนกลาง ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม

การกระจายพันธุ์

เอเชียเขตร้อน และจีนตอนใต้-ตอนกลาง

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกกอที่มีรากติดไปปลูก หรือเพาะเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อ

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-มีนาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อความสวยงาม

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “เอื้องครั่ง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1308 (27 พฤศจิกายน 2559).

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Dendrobium parishii”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:628214-1 (27 พฤศจิกายน 2559).

The Plant List. 2013. “Dendrobium parishii Rchb.f.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-58641 (27 พฤศจิกายน 2559).

Wikipedia. 2017. “Dendrobium parishii”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Dendrobium_parishii (27 พฤศจิกายน 2559).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้